ตอนบ้านน้อยเด็กๆจำได้ว่าใช้ไส้เดือนมาเป็นเหยื่อล่อปลา จนโตมาถึงได้รู้ว่า เค้าได้นำเอาเจ้าไส้เดือนที่เราใช้เป็นเหยื่อตกปลามาทำเป็นปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนกัน การเลี้ยงไส้เดือน เพื่อทำเป็น “ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน” วิธีการง่ายไม่ยุ่งยาก
ประหยัดค่าใช้จ่ายในการทำไร่ทำสวน แถมยังสามารถสร้างเป็นรายได้ ในการทำ ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน จำหน่ายได้อีกด้วย บ้านน้อยดอทคอม ได้รวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ในการทำ ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน มาเผยแพร่ ที่นี่
ไส้เดือนดิน หรือไส้เดือน นอกจากจะใช้เป็นเหยื่อล่อปลา ที่ทำกันมาตั้งแต่โบราณ จนถึงปัจจุบันก็ยังใช้กันอยู่บางพื้นที่ แล้วยังเป็นสัตว์ประเภทที่ดีและสำคัญมากสำหรับระบบนิเวศน์ต่อพืชแล้ว ยังสามารถเลื้ยงเพื่อ ทำเป็น ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน ได้อีกด้วย ทำเป็นอาชีพสร้างรายได้เพื่อจำหน่าย หรือ ทำเพื่อใช้ในไร่ในสวนของท่านเเองก็ได้
ไส้เดือนเป็นสัตว์ประเภทไม่มีกระดูกสันหลัง เป็นสัตว์ที่มีทั้งเพศผู้และเพศเมีย อยู่ในตัวเดียวกันหรือสัตว์สองเพศนั่นเอง ลักษณะของไส้เดือน ที่ใครก็รู้จักกันดีคือ มีลักษณะลำตัวยาวๆลำตัวเป็นข้อหรือปล้องๆมีสีดำบ้างสีแดงและสีม่วงบ้างแล้วแต่สายพันธ์ุ ไส้เดือนดินพบอยู่ทั่วไป ใต้ดินที่ชื้นหรือตามซากพืช หรือใต้มูลสัตว์ต่างๆ
ปัจจุบันมีหลายหน่วยงาน หลายโครงการ ได้ทำการค้นคว้าและวิจัยเรื่อง ของไส้เดือน เพื่อนำมาทำให้เกิดประโยชน์และสร้างรายได้ให้เกษตรกร เพราะลักษณะพิเศษของไส้เดือน เป็นสัตว์ที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศน์ การชอนไช้ใต้ดินของไส้เดือน ก็เหมือนกับการที่เราพรวนดิน พืชผักผลไม้ของเรานั่นเอง
การเลี้ยงไส้เดือนดิน มีหลายแบบหลายวิธี ใช้กะละมังกลม หรือ บ่อซีเมนต์หรือบ่อปูนกลม ก็ได้ แต่ทำแบบให้ได้จำนวนและปริมาณเยอะก็นิยมเลี้ยงใส่บ่อซีเมนต์หรือบ่อกลมกันเป็นส่วนใหญ่ อุปกรณ์ก็ไม่ยุ่งยาก หาได้ง่ายและประหยัด
การเลี้ยงไส้เดือนดินเพื่อทำ ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน ในบ่อซีเมนต์
วัสดุและอุปกรณ์ในการเลี้ยงไส้เดือนดิน
- บ่อซีเมนต์กลม ที่มีความกว้างของบ่อ ประมาณ 80-100
- มูลสัตว์หรือขี้วัวแห้ง 1 กระสอบ หรือ กระสอบครึ่ง ต่อหนึ่งบ่อ
- ไส้เดือนดิน ประมาณ 2 กิโล ต่อ1บ่อ ไส้เดือนที่นิยมเลี้ยง คือพันธุ์แอฟริกัน ลำตัวจะมีสีม่วง เพราะไส้เดือนพันธุ์พันธ์ุแอฟริกัน นั้นมีข้อดีคือ ตัวอ้วนโต เคลื่อนไหวช้าและให้ปุ๋ยจำนวนที่มาก และยังขยายพันธุ์ได้เร็วอีกด้วย
วิธีการเลี้ยงไส้เดือนดินในบ่อซีเมนต์
ใส่ขี้วัวลงไปในบ่อซีเมนต์ 1หรือ1กระสอบครึ่ง แล้วทำให้ขี้วัวเย็น หรือคลายความร้อน นั่นคือรดน้ำขี้วัว รดน้ำประมาณ1-2 อาทิตย์ วิธีการวัดง่ายๆว่าขี้วัวเย็นพร้อมใช้หรือยัง ให้ใช้มือล้วงลงไปในขี้วัว ถ้ามือเราเย็นก็หมายถึง ขี้วัวพร้อมใช้ทำปุ๋ยแล้ว แต่ถ้ามือที่ล้วงลงไป รู้สึกอุ่นๆ ก็แสดงว่าขี้วัวยังไม่คลายความร้อน หรือยังเย็นไม่พอ ต้องรดน้ำเพิ่มให้กับขี้วัว จนเย็นได้ที่พอวัดได้ว่าขี้วัวเย็นได้ที่แล้ว ให้นำ ไส้เดือนดินพันธุ์แอฟริกัน ใส่ลงไปบนขี้วัว ประมาณ 1-2 กิโลกรัม ใส่ลงไปโดยที่ไม่ต้องฝังตัวเค้าลงใต้ขี้วัว เพราะถ้าขี้วัวเย็นได้ที่ เค้าจะทำการชอนไช้ลงใต้ขี้วัวเอง
ให้ความชื้นโดยการรดน้ำ 3-4 วันครั้ง ประมาณ 1-2 เดือน ก็สามารถเก็บ ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน ไปใช้กับพืช,ผักผลไม้ หรือจำหน่ายได้แล้วครับ
การเลี้ยงไส้เดือนดินเพื่อทำ ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน ในกะละมัง
- กะลังมังสีดำ ความกว้างประมาณ 1ศอก (ใบละไม่เกิน 20 บาท)
- ขี้วัวแห้ง เก็บเศษฟาง หรือวัสดุที่ปนมากับขี้วัวออกให้เหลือแค่ขี้วัวจริงๆ
- ไส้เดือนดินพันธ์ุแอฟริกันที่ใช้เลี้ยงกันทั่วไป ประมาณ 3 ขีด
- กากมะพร้าวสับ หรือใบไม้แห้ง (ใบมะขามเทศ,ใบก้ามปู)
วิธีและขั้นตอนในการเลี้ยงก็ไม่แตกต่างกันกับการเลี้ยงในท่อซีเมนต์ แค่ลดปริมาณลง
- นำกะละมังไปเจาะรูโดยใช้สว่าน 2 หุน เจาะให้ทั่วกะละมัง เพื่อให้น้ำไหลผ่านออกได้สะดวก
- นำขี้วัวมาทำการรดน้ำ ให้ขี้วัวเปียก เพื่อล้างความร้อนของขี้วัวและแก๊สออกให้หมด รดน้ำขี้วัว ประมาณ 1-2 อาทิตย์ แล้วแต่ความร้อนของขี้วัว
- นำกากมะพร้าวสับมาผสม ประมาณ 30% ของขี้วัว 70 % นำมาผสมให้เข้ากัน มะพร้าวสับควรแช่น้ำก่อนเพื่อล้างยางของมะพร้าวออกไป ที่ผสมกากมะพร้าวผสม เพื่อช่วยในการเพิ่มความเย็นให้กับขี้วัว ผสมเข้ากันแล้วนำไปใส่ในกะลังมัง ประมาณครึ่งกะลังมัง
- ใส่ไส้เดือน 3 ขีด ลงบนขี้วัวผสมไว้ในกะลังมัง แล้วนำไว้ในโรงเรือนที่เย็น โดยทำเป็นชั้นเหล็ก หรือชั้นท่อพีวีซีก็ได้ ไส้เดือนชอบความชื้นและเย็น รดน้ำ ให้ความชื้นกับไส้เดือน 3-4 วันต่อครั้ง ประมาณ 1ครึ่งหรือ2 เดือนเราก็จะได้ ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน เต็มกะละมัง สามารถนำไปใส่ พืช ผักผลไม้ หรือจำหน่ายได้แล้วครับ
หมายเหตุ : โรงเรือนที่เลี้ยงไส้เดือนดิน คือต้องเป้นพื้นที่โล่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก แดงส่องบ้างแต่ไม่ให้ร้อนจัด
- สามารถให้อาหารเสริมได้ คือเศษผักที่เหลือใช้การทำครัว ให้หรือไม่ให้ก็ได้ เพราะไส้เดือนพันธ์ุแอฟริกันกินขี้วัวเป็นอาหารหลักอยู่แล้ว
- เราสามารถแยกพ่อพันธุ์แม่พันธ์ุไส้เดือนไว้ได้ โดยการคัดเอาไส้เดือนที่ตัวโตๆ ไว้
- ไส้เดือนดินเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดุกสันหลัง ไม่ชอบความร้อน เพราะฉนั้น มูลของไส้เดือนจึงเย็น สามารถนำไปรองหลุมที่เตรียมปลูกพืชผักผลไม้ได้เลย หรือใส่เป็นปุ๋ยแก่ต้นไม้ที่กำลังเจริญเติบโตได้ดี
ผู้เขียนหวังว่าบทความนี้คงเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านได้ไม่มากก็น้อย บ้านน้อยดอทคอม รวบรวมความรู้ ด้านการเกษตรผสมผสาน เกษตรยั่งยืน การปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ปุ๋ยชีวภาพ ได้ที่ บ้านน้อยดอทคอม
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลต่างๆและศูนย์เรียนรู้จากไร่ปั้นเดือน ภาพจากinternet