วิธีการปลูก หมามุ้ยพันธ์ุอินเดีย สร้างรายได้ ทำเงินได้จริง สรรพคุณ เป็นยาบำรุงกำลังชั้นเยี่ยม

225

หมามุ้ย เป็นที่รู้กันว่าเป็นพืชถ้าเราได้โดนหรือสัมผัสกับผลของเจ้าหมามุ้ยแล้วจะเกิดอาหารคัน,ปวดแสบ,ปวดร้อนเหมือนกับโดนยาพิษยังไงยังงั้น เมื่อตอนเด็กๆก็ไม่มีความรู้เรื่องสมุนไพรไทยอะไรเลยน่ะครับ ก็คิดแต่แค่ว่าเอาหมามุ้ยมาไว้ใช้แกล้งกันให้คันเล่นๆ แต่ปัจจุบันหมามุ้ย ได้กลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ ได้อย่างมหาศาล และมีสรรพคุณในการรักษาโรคสารพัด ผู้เขียนก็เลยหาข้อมูลของหมามุ้ยมาฝากท่านผู้อ่านทุกท่านให้ได้อ่านกันครับ ติดตามข้อมูลดีๆ และเทคนิคด้านการเกษตรทุกชนิด ได้ที่นี่ Baannoi.com

หมามุ้ยแต่เริ่มเดิมทีก็จะไม่มีใครนำมาปลูกในไร่ในสวนกันเท่าไหร่น่ะครับ เพราะกลัวว่าลูกหลานตัวน้อยๆ จะซุกซนไปโดนเจ้าหมามุ้ยแล้วจะ ปวดแสบปวดร้อนเดี๋ยวจะพาลไม่สบายเอา แต่ปัจจุบันชาวเกษตรกรที่ปลูกไร่นา สวนผสมที่ปลูกข้าวหรือปลูกพืชได้ผลผลิตไม่ค่อยได้ดีเท่าที่ควร ก็หันมาปลูกหมามุ้ยพันธ์ุอินเดียเพื่อสร้างรายได้เสริม และรายได้ที่ได้จากการปลูกหมามุ้ย ก็กลับกลายเป็นรายได้ที่สามารถทำเงินได้ดีเสียด้วยครับ เพราะคุณสมบัติของหมามุ้ยมีมากมายมหาศาล พอๆกับฤทธิ์เดชของอาการคันของเค้านั่นแหละครับ

วิธีถอนพิษคันของหมามุ้ย 

  • ให้รีบกำจัดขนพิษออกจากบริเวณที่โดนขนของหมามุ้ย โดยให้ใช้เทียนไปลนไฟให้อ่อนตัว แล้วนำมาคลึงบริเวณที่โดนขนของหมามุ้ยทำซ้ำหลายๆครั้งจนขนหลุดออกหมดน่ะครับ หากยังมีอาการปวดแสบปวดร้อนอยู่ก็ให้หาคาลาไมน์หรือครีมแก้แพ้ มาทาทับเพื่อลดอาการแสบได้ครับ

สรรพคุณของหมามุ้ยหลักๆ ซึ่งชาวบ้านได้กล่าวว่าตั้งแต่โบราณรุ่นปู่ย่าตายายก็นำเอาเมล็ดของหมามุ้ยมาคั่วกินเพื่อบำรุงกำลัง ทำให้พละกำลังดี นอนหลับแก้อาการปวดหลังต่างๆนานา คั่วแบบเมล็ดมะขามนี่แหละครับ และปัจจุบันทางการแพทย์ก็ได้นำไปสกัดเป็นยาได้แล้วน่ะครับ หมามุ้ยมีสรรพคุณด้านสมุนไทยตั้งแต่รากถึงเมล็ดของหมามุ้ยเลยครับ เช่น 

  • ราก,ใบ ใช้ถอนพิษล้างพิษ แก้อาการคันต่างๆ
  • เมล็ดใช้กินได้ทั้งแบบ คั่ว,นึ่ง หรือบด สรรพคุณของเมล็ดก็คือ บำรุงกำลัง,แก้อาการมือเท้าสั่น เนื่องมาจากโรคพาร์กินสัน แก้อาการนอนไม่หลับ ไม่เหนื่อยง่าย และที่ขึ้นชื่อกันมากก็น่าจะเป็น เสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศนั่นเองครับ 

วิธีการปลูกง่ายๆปลูกเหมือนพืชตระกูลถั่วทั่วไป

  • นำพันธ์ุหรือเมล็ดพันธ์ุของหมามุ้ย มาหยอดในหลุมหยอดหลุมละ 2-3 เมล็ด ใช้ห้างไม้ให้เลื้อยขึ้นเองตามธรรมชาติ คอยรดน้ำไม่ให้ดินแห้งก็เป็นพอครับ หมามุ้ยจะเจริญเติบโตตามธรรมชาติของเค้าเอง ซึงชาวเกษตรกรอำเภอตะพง จังหวัดระยองก็ได้มีการตั้งกลุ่มขึ้นมา 15 คน โดยการน้ำพื้นที่มาเฉลี่ยกัน ใช้การปลูกกันคนละ 1 ไร่ ก็ได้ทำให้เกิดกลุ่มและการปลูกหมามุ้ยและขยายผลผลิตได้มากขึ้นๆจากรายได้เสริมก็กลายเป็นรายได้หลัก เป็นกอบเป็นกำ มีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อ และทำราคาของหมามุ้ยได้เพิ่มสูงขึ้นตามมาอีกด้วยครับ

ระยะเวลาในการเก็บเกี่ยว หมามุ้ยพันธ์ุอินเดียจะโตและพร้อมเก็บเกี่ยวอยู่ที่ 2-3 เดือน ส่วนหมามุ้ยพันธ์ุไทยต้องใช้เวลาเกือบ 6 เดือนถึงจะสามารถเก็บเมล็ดพันธ์ุได้ และวิธีการเก็บเมล็ดผลของหมามุ้ยก็มีดังนี้ครับ

หมามุ้ยที่พร้อมเก็บก็จะมีลักษณะ ฝักแก่จัดสีเหลืองทองมีขนรอบฟักค่อนข้างยาว วิธีเก็บให้ใช้เหล็กเหมือนไม้คีบถ่านไช้จับหมามุ้ย แล้วใช้กรรไกรตัดตรงขั้วออก ข้อควรระวังในการตัดควรอยู่เหนือลมเพื่อไม่ให้ขนของหมามุ้ยปลิวเข้าตาหรือร่างกาย ให้ใส่แว่นตากันลมเสื้อแขนยาว และถุงมือจะดีที่สุด

จากนั้นนำเมล็ดหมามุ้ยมาตากแตด 1 วัน แล้วเก็บไว้ 2 วันโดยหาผ้าใบหรือแผ่นยางปิดคลุมไว้ เมล็ดในฝักของหมามุ้ยก็จะหลุดออกมา แล้วก็นำเมล็ดของหมามุ้ยไปคั่วกับทราย ก็สามารถนำไปขายได้แล้วครับ

 

หมามุ้ย

หมามุ้ยที่แก่จัดและได้นำมาตากแดด

 

ภาพจากไร่นาสวนผสมของลุงเกษม โตมา อายุ 70 ปี บ้านท่าตะเคียน ต.จอมทอง อ.เมือง จ.พิษณุโลก

 

ราคาขายหมามุ้ยราคาก็จะมีแตกต่างกันออกไป

หมามุ้ยพันธ์ุอินเดียราคาขายอยู่ที่ กิโลกรัมละ 300 บาท แต่ถ้าคั่วบด ราคาอยู่ที่ กิโลกรัมละ 400  บาท แต่เดี๋ยวนี้เปลี่ยนรูปมาเป็นแบบแคปซูลราคาก็พุ่งขึ้นสูงถึง กิโลกรัมละ 800 บาทเชียวครับ เป็นไงครับรายได้น่าสนใจไหมครับ 

 

หมามุ้ย

หมามุ้ยคั่วบด ราคากิโลกรัมละ 400 บาท

 

หมามุ้ย

หมามุ้ยสดคั่ว ราคาอยู่ที่ 200-300 บาทเหมือนเมล็ดถั่วหรือเมล็ดกาแฟเลยน่ะครับ

 

หมามุ้ยแคปซูล

หมามุ้ยคั่วบดแล้วนำมาบรรจุใส่แคปซูล ราคาอยุ่ที่ กิโลกรัมละ 800 บาท

 

กลุ่มเกษตรกรอำเภอตะพง จังหวัดระยอง ก็มีเมล็ดพันธ์ุหมามุ้ยอินเดียและพร้อมให้คำปรึกษาพร้อมแนะนำวิธีการปลูกหมามุ้ยอินเดีย ถ้าท่านใดสนใจก็สามารถ โทรไปสอบถามได้ที่ เบอร์โทร. 08-1570-7772 ได้ครับ

ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ว่าพืชหรือคนหรือสัตว์ถึงแม้ว่าจะมีพิษภัยบ้าง แต่ก็มีประโยชน์อยู่ในตัวของเค้าเองเช่นกันน่ะครับ ผู้เขียนหวังว่าบทความนี้คงเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านเว็บไม่มากก็น้อย ติดตามข้อมูลและเทคนิคดีๆ ด้านการเกษตรได้ที่นี่ Baannoi.com